พฤติกรรมสังคม (Social behavior)
พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อสัตว์สปีชีส์เดียวกันมาอยู่รวมกันและมีอันตรกิริยาต่อกัน
มี 5 แบบดังนี้
(1) พฤติกรรมการร่วมมือกัน (cooperative
behavior) ในการอยู่ร่วมกันบางครั้งสัตว์จะต้องมีการร่วมมือกันเพื่อทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง
ซึ่งไม่อาจทำได้โดยลำพัง
(2) พฤติกรรมการต่อสู้ (agonistic
behavior) มักเกิดขึ้นเพื่อแย่ง resources บางอย่าง
เช่น อาหาร ที่อยู่และคู่ผสมพันธุ์ ฝ่ายชนะจะได้ resources ไปครอบครอง
พฤติกรรมการต่อสู้จะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมข่มขู่ (threatening behavior) และพฤติกรรมยอมจำนน (submissive behavior)
(3) การจัดลำดับความสำคัญในสังคม (dominance
hierarchies) พบในสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นสังคม
การจัดลำดับความสำคัญในสังคมนี้พบได้ทั้งในเพศผู้และเพศเมีย
(4) พฤติกรรมการป้องกันอาณาเขต (territorial
behavior) สัตว์บางชนิดมีการสร้างอาณาเขต (territory) ของตัวเองและจะแสดงพฤติกรรมการป้องกันอาณาเขตโดยการขับไล่สปีชีส์เดียวกันที่บุกรุกเข้ามาในอาณาเขตของมัน
(**อาณาเขตเป็นบริเวณที่สัตว์ใช้ในการกินอาหาร ผสมพันธุ์และเลี้ยงลูกอ่อน
ขนาดของอาณาเขตไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสปีชีส์
หน้าที่ของอาณาเขตและฤดูกาลซึ่งมีผลต่อปริมาณ resources**)
(5) พฤติกรรมการสืบพันธุ์ (reproductive
behavior) จะเกี่ยวข้องกับการเกี้ยวพาราสี (courtship) และระบบการผสมพันธุ์ (mating system) สัตว์หลายชนิดมีการเกี้ยวพาราสีก่อนที่จะมีการผสมพันธุ์เกิดขึ้น
การเกี้ยวพาราสีเป็นพฤติกรรมที่สลับซับซ้อนซึ่งประกอบด้วยลำดับขั้นตอนต่างๆที่มีแบบแผนแน่นอน
ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้สัตว์แต่ละตัวแน่ใจว่าอีกฝ่ายหนึ่งไม่ใช่ศัตรูและมีความพร้อมทางสรีระที่จะผสมพันธุ์
ในบางสปีชีส์จะมีการเลือกคู่ผสมพันธุ์หลังจากมีการเกี้ยวพาราสี
การเลือกคู่อาจเกิดจากการเลือกของเพศเมีย (female choice) และ/หรือเกิดจากการแข่งขันระหว่างเพศ
ผู้ (male to male competition) โดยมากเพศเมียมักจะเป็นฝ่ายเลือกเพศผู้
เนื่องจากเพศเมียมีการลงทุนมากกว่าเพศผู้ในการผลิตและเลี้ยงดูลูก (parental
care) เพศเมียจึงเป็นฝ่ายเลือกเพศผู้ ถ้าเพศผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูก
เพศเมียจะเลือกเพศผู้ที่มีความสามารถสูงในการเลี้ยงดูลูก
เพศเมียจะเลือกเพศผู้ที่มีพันธุกรรมดี โดยดูจากการแสดงออกขณะมีการเกี้ยวพาราสี (courtship
display) หรือลักษณะเพศขั้นที่สอง (secondary sex
characteristics) สัตว์หลายสปีชีส์เพศผู้ 1ตัวจะผสมกับเพศเมียหลายตัว
ในกรณีนี้เพศผู้จะเป็นฝ่ายแสดงการเกี้ยวพาราสีและแข่งขันกันเพื่อสร้างความประทับใจให้กับเพศเมีย
และบางสปีชีส์เพศผู้ต้องต่อสู้กันเพื่อตัดสินว่าฝ่ายใดจะได้ผสมพันธุ์
ความสัมพันธ์ของคู่ผสมพันธุ์จะแตกต่างกันในสัตว์แต่ละชนิด
ซึ่งแบ่งตามระบบการผสมพันธุ์ของสัตว์ได้ 3 แบบคือ
(1) promiscuous เมื่อผสมพันธุ์กันแล้วเพศผู้และเพศเมียไม่ได้อยู่ด้วยกันตลอดเวลา
(2) monogamous เพศเมีย 1 ตัวผสมกับเพศผู้ 1 ตัว
และคู่ผสมพันธุ์อยู่ด้วยกันเป็นเวลานาน
(3) polygamous เพศหนึ่งผสมกับอีกเพศหนึ่งหลายตัว
ถ้าเพศผู้ 1 ตัวผสมกับเพศเมียหลายตัว เรียกpolygyny ถ้าเพศเมีย 1 ตัวผสมกับเพศผู้หลายตัว เรียกว่า polyandry
* ปัจจัยสำคัญที่ทำ ให้เกิดวิวัฒนาการของระบบการผสมพันธุ์คือความจำเป็นในการเลี้ยงดูลูกอ่อน
*ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อระบบการผสมพันธุ์และการเลี้ยงดูลูกของสัตว์คือความมั่นใจในการเป็นพ่อ
(certainty of paternity) ลูกอ่อนที่เกิดหรือไข่ที่วางสามารถบอกได้แน่นอนว่าตัวใดเป็นแม่
แต่ไม่สามารถบอกได้แน่นอนว่าตัวใดเป็นพ่อ สำหรับสัตว์ที่มีการปฏิสนธิภายใน (internal
fertilization) การผสมพันธุ์และการเกิดของลูกไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกัน
ทำให้เกิดความไม่แน่นอนว่าตัวใดเป็นพ่อ
ดังนั้นการเลี้ยงดูลูกโดยเพศผู้จึงพบน้อยในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนํ้านม
สำหรับสัตว์ที่มีการปฏิสนธิภายนอก (external fertilization) ความมั่นใจในการเป็นพ่อมีมากกว่า
เนื่องจากการปฏิสนธิและการวางไข่เกิดขึ้นพร้อมๆกัน
การดูแลลูกในสัตว์กลุ่มนี้จึงเกิดจากเพศผู้และเพศเมียพอๆกัน
การดูแลลูกโดยเพศผู้พบในสัตว์ที่มีการปฏิสนธิภายในเพียง 7% แต่พบในสัตว์ที่มีการปฏิสนธิภายนอกถึง
69%
ที่มาของเนื้อหา : บุญเกื้อ วัชรเสถียร.2543.พฤติกรรม.สืบค้นเมื่อ 5
ธันวาคม 2560 จาก http://pirun.ku.ac.th/~fscibov/behavior.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น