พฤติกรรมสังคม (2)
การสื่อสาร (communication) -- เป็นการถ่ายทอดข้อมูลอย่างจงใจระหว่างสัตว์แต่ละตัว
การสื่อสารจะเกิดขึ้นเมื่อการกระทำ ของผู้ส่งข้อมูล (sender) มีผลไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้รับข้อมูล (receiver) ในการสื่อสารสัตว์จะส่งข้อมูลโดยผ่านทางอวัยวะรับความรู้สึกของผู้รับข้อมูล
ซึ่งอาจจะเป็นตา หูจมูก ปาก หรือผิวหนัง
ส่วนวิธีการที่สัตว์ใช้ในการส่งข้อมูลขึ้นอยู่กับการดำรงชีวิตของสัตว์ชนิดนั้นๆ สัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน
(nocturnal animals) มักใช้การดมกลิ่นและ/หรือ
การฟังเสียงในการสื่อสาร เนื่องจากพวกนี้สายตาไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ
ส่วนสัตว์ที่หากินในเวลากลางวัน (diurnal animals) ใช้สายตาและ/หรือ
การฟังเสียงในการสื่อสาร สำหรับสัตว์ที่ติดต่อสื่อสารกันโดยใช้กลิ่นจะปล่อยสารเคมีที่เรียกว่า
ฟีโรโมน (pheromone) ซึ่งเป็นสารเคมีที่สร้างจากต่อมชนิดมีท่อ
(exocrine gland) และส่งออกสู่ภายนอกเพื่อใช้เป็นสื่อติดต่อระหว่างสัตว์สปีชีส์เดียวกัน
การสื่อสารโดยวิธีนี้พบมากในแมลงและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนํ้านมหลายชนิด
ฟีโรโมนแบ่งตามหน้าที่ได้ดังนี้
(1) ฟีโรโมนเพศ (sex
pheromone) เมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์สัตว์เพศใดเพศหนึ่งจะปล่อยฟีโรโมนเพศออกไปเพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม
(2) ฟีโรโมนนำทาง (trail
pheromone) มดที่ออกไปหาอาหาร
เมื่อพบแหล่งอาหารจะปล่อยฟีโรโมนนำทางไว้ตามทางเดิน
เพื่อนำมดตัวอื่นไปยังแหล่งอาหารและกลับมายังรัง
(3) aggregation pheromone แมลงที่อยู่แบบสังคม
จะปล่อย aggregation pheromone ออกมาดึงดูดมดงานให้มาอยู่ใกล้ๆเพื่อให้มดงานทำงานให้นางพญา
มอดเจาะไม้ซึ่งเมื่อได้กินอาหารที่เหมาะสมจะปล่อย aggregation pheromone ออกมาดึงดูดสปีชีส์เดียวกันมายังแหล่งอาหาร
(4) ควีนฟีโรโมน (queen
pheromone) แมลงที่อยู่แบบสังคม เช่น
ปลวกตัวที่เป็นนางพญาจะสร้างควีนฟีโรโมนจาก mandibular gland และหลั่งออกมาให้ปลวกงานกิน
ควีนฟีโรโมนนี้จะมีผลไปยับยั้งการเจริญของรังไข่ในปลวกงาน
(5) ฟีโรโมนเตือนภัย (alarm
pheromone) พบในแมลงที่อยู่แบบสังคมเช่นกัน
เมื่อแมลงได้รับอันตรายจะปล่อยฟีโรโมนเตือนภัยออกไปเพื่อกระตุ้นให้แมลงตัวอื่นหนีออกจากรัง
****** ผึ้งเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีการสื่อสารที่สลับซับซ้อนที่สุด
ผู้ที่ศึกษาการสื่อสารในผึ้งมากคือ Karl von Frisch นักสัตววิทยาชาวออสเตรีย
เขาได้รับรางวัลโนเบลร่วมกับ Lorenz และ Tinbergen จากการ เฝ้าดูพฤติกรรมของผึ้ง Frisch พบว่าเมื่อผึ้งกลับจากหาอาหารจะแสดงการเต้นรำ
เพื่อบอกตำ แหน่งอาหาร ถ้าอาหารอยู่ใกล้ (น้อยกว่า 50 เมตร)
ผึ้งจะแสดงการเต้นรำ รูปวงกลม (round dance) ผึ้งตัวที่เต้นรำ
จะสำรอกนํ้าหวานออกมาเพื่อให้ผึ้งตัวอื่นชิม
จากนั้นผึ้งงานจะออกจากรังเพื่อหาอาหาร ถึงแม้การเต้นรำ รูปวงกลมจะไม่ได้บอกทิศทาง
แต่การได้ชิมนํ้าหวานก็ช่วยทำ ให้ผึ้งงานหาดอกไม้ที่มีนํ้าหวานได้
เมื่ออาหารอยู่ไกล ผึ้งจะแสดงการเต้นรำ แบบส่ายท้อง (waggle dance) ซึ่งบอกทั้งระยะทางและทิศทางของอาหาร ความเร็วในการส่ายท้อง (abdomen)
ขณะเต้นรำ จะเป็นตัวบอกระยะทาง ถ้าท้องส่ายเร็ว 40 ครั้ง/วินาที อาหารอยู่ไกล 100 เมตร ถ้าท้องส่ายช้า 18
ครั้ง/วินาที อาหารอยู่ไกล 1,000 เมตร
ส่วนมุมที่เกิดจากการวิ่งตรงทำ มุมกับแนวดิ่งของรังในขณะเต้นรำ
จะเป็นตัวบอกทิศทางของอาหาร ในขณะที่ผึ้งแสดงการเต้นรำ แบบส่ายท้อง
มันจะสำรอกนํ้าหวานออกมาให้ผึ้งตัวอื่นชิม
หลังจากชิมนํ้าหวานผึ้งจะรู้ถึงชนิดอาหาร ระยะทางและทิศทางที่จะไปหาอาหาร******
ที่มาของเนื้อหา : บุญเกื้อ วัชรเสถียร.2543.พฤติกรรม.สืบค้นเมื่อ 5
ธันวาคม 2560 จาก http://pirun.ku.ac.th/~fscibov/behavior.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น