บทนำ
พฤติกรรม (Behavior) หมายถึง การกระทำหรือการแสดงออกของสัตว์ เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า
หรือสิ่งที่มากระตุ้น (Stimulus) อาจจะเกิดขึ้นทันทีหรือเกิดขึ้นหลังจากที่ถูกกระตุ้นมาแล้วระยะหนึ่ง
** พฤติกรรมเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาท
กล้ามเนื้อและฮอร์โมน **
การเรียนรู้พฤติกรรมของสัตว์ทำให้มนุษย์ล่าสัตว์กินเป็นอาหารได้แทนที่จะเป็นผู้ถูกล่า
เพิ่มโอกาสในการอยู่รอดของหรือ Darwinian fitness มนุษย์
และสัตว์จะแสดงพฤติกรรมไปในทางที่ทำให้เกิด fitness สูงสุดต่อตัวเอง
เช่น พฤติกรรมการกินอาหาร (เลือกกินอาหารพลังงานสูง) พฤติกรรมการเลือกคู่
(เลือกคู่ผสมพันธุ์ที่ทำให้ลูกที่เกิดมามีความสมบูรณ์ที่สุด)
** ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมได้แก่ ยีน (Gene)
และสิ่งแวดล้อม **
** การศึกษาพฤติกรรมแบ่งออกเป็น 2 สาขาคือ Ethology และBehavioral Ecology
พฤติกรรมจำแนกออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด (Innate
behavior) แสดงออกเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าชนิด
เป็นพฤติกรรมที่ได้มาจากกรรมพันธุ์ สัตว์สามารถแสดงออกได้โดยไม่ต้องเรียนรู้มาก่อน
มีแบบแผนเดียวกัน (Stereotyped) ไม่ค่อยมีการปรับเปลี่ยนโดยการเรียนรู้
มีลักษณะเฉพาะของแต่ละสปีชีส์ (Species-specific) พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดแบ่งออกเป็น
3 แบบคือ
(1) Kinesis เป็นการเคลื่อนที่เข้าหาหรือออกจากสิ่งเร้าโดยมีทิศทางไม่แน่นอน
(2) Taxis เป็นการเคลื่อนเข้าหาหรือออกจากสิ่งเร้าโดยมีทิศทางแน่นอน
(3) พฤติกรรมที่มีแบบแผนแน่นอน (Fixed
action pattern หรือ FAP) เมื่อสัตว์ถูกกระตุ้นโดยสิ่งเร้าจากภายนอกที่เรียกว่า
Sign stimulus (releaser) จะทำ
ให้เกิดพฤติกรรมที่มีแบบแผนแน่นอน
2.พฤติกรรมการเรียนรู้ (Learning
behavior) สามารถปรับเปลี่ยนได้อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ ไม่ใช่เกิดจากการที่สัตว์มีอายุมากขึ้น
(Maturation) พฤติกรรมการเรียนรู้ได้รับอิทธิพลจากทั้งยีนและสิ่งแวดล้อม
จำแนกเป็น 6 ประเภทดังนี้
(1) พฤติกรรมความเคยชิน (Habituation)
เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการที่สัตว์หยุดตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ซ้ำๆกัน
เนื่องจากไม่ได้รับการตอบแทนที่เหมาะสม
หรือเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการตอบสนองแบบเดิมเนื่องจากความคุ้นชิน
(2) พฤติกรรมการฝังใจ (Imprinting) เป็นพฤติกรรมที่ถูกกำหนดมาแล้วโดยยีน
จะเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต (Critical period) และมีลักษณะเป็น Irreversible learning สิ่งเร้าที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการฝังใจเรียกว่า
Imprinting stimulus จากการศึกษาของนักชีววิทยาชาวเยอรมันชื่อ
Konrad Lorenz พบว่าลูกห่านที่ฟักออกจากไข่จะเดินตามแม่ของมัน
(3) การเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข (Classical
conditioning) หมายถึงการที่สัตว์เรียนรู้ที่จะนำสิ่งเร้าใหม่เข้าไปทดแทนสิ่งเร้าเดิมในการกระตุ้นให้สัตว์เกิดการตอบสนองตามธรรมชาติ
(Unconditioned response) สิ่งเร้าเดิมซึ่งปรกติกระตุ้นให้สัตว์เกิดการตอบสนองเรียกว่าสิ่งเร้าที่ไม่เป็นเงื่อนไข
(Unconditioned stimulus) ส่วนสิ่งเร้าใหม่ซึ่งปรกติไม่กระตุ้นให้สัตว์แสดงการตอบสนองนี้เรียกว่าสิ่งเร้าที่เป็นเงื่อนไข
(Conditioned stimulus)
(4) การลองผิดลองถูก (Operant
conditioning หรือ Trial and error) หมายถึงการที่สัตว์เรียนรู้ที่จะเชื่อมโยงพฤติกรรมหนึ่งกับการได้รางวัลหรือการถูกลงโทษ
เมื่อได้รางวัลสัตว์ก็จะแสดงพฤติกรรมนั้นซํ้า
แต่เมื่อถูกลงโทษสัตว์ก็จะหลีกเลี่ยงที่จะแสดงพฤติกรรมนั้นอีก
(5) การลอกเลียนแบบ (Observational
learning) เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการที่สัตว์ดูพฤติกรรมของสัตว์อื่นและเรียนรู้ข้อมูลสำคัญบางอย่างแล้วทำตาม
(6) การรู้จักใช้เหตุผล (Insight
learning หรือ reasoning) หมายถึง
การที่สัตว์สามารถแสดงพฤติกรรมได้ถูกต้องตั้งแต่ครั้งแรกถึงแม้ว่าสัตว์นี้จะไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน
(7) การใช้ความคิดประมวลข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ
(Cognition) การคิดประมวลข้อมูลเป็น
ลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม และเป็นส่วนสำคัญในการแสดงออกของพฤติกรรม 10
ที่มาของเนื้อหา : บุญเกื้อ วัชรเสถียร.2543.พฤติกรรม.สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2560
ช่วยคอมเม้นเพื่อเป็นแนวทางให้ได้แก้ไขปรับปรุงด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
ตอบลบ